สสส.หนุนเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์ปรับค่านิยม เปลี่ยนแปลงสังคม

นักศึกษามีเดียอาตส์ มจธ. เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ฯ คว้ารางวัลระดับเอเชีย Silver Award เวที 24th Digicon6 ASIA THAILAND 2022 ครีเอทีฟดิจิทัล แอนิเมชัน 3 มิติ สสส.หนุนเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์ ปรับค่านิยม เปลี่ยนแปลงสังคม พัฒนาระบบนิเวศสื่อ เพื่อสุขภาวะยั่งยืน

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. เปิดเผยว่า สถาบันการศึกษาเป็นกุญแจสำคัญ ช่วยสร้างนักสื่อสารสุขภาวะ และสื่อสร้างสรรค์สังคม สสส. จึงพัฒนา “โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์เพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่” ร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยทำงานต่อเนื่อง สู่ปีที่ 7 ปัจจุบันมี 13 มหาวิทยาลัย 14 คณะร่วมอนาคต โดยเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา ทีมนักศึกษาจากสาขาวิชา มีเดียอาตส์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) หนึ่งในสถาบันที่ร่วมโครงการ ได้รับรางวัล Silver Award จากเวที 24th Digicon6 ASIA THAILAND 2022 จากผลงานแอนิเมชัน “Stay in touch” ซึ่งเป็นการประกวดแอนิเมชันระดับอินเตอร์เนชั่นแนล โดยบริษัท Tokyo Broadcast System Holdings (TBS) จากประเทศญี่ปุ่น สะท้อนคุณค่าและความสำเร็จ ในการพัฒนานักสื่อสารสุขภาวะ เพราะถือว่าเป็นอีกรางวัลยิ่งใหญ่รางวัลหนึ่งในเอเชีย

ญาณี รัชต์บริรักษ์

ทั้งนี้ สสส. ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ เยาวชนที่ได้รับรางวัล และ พร้อมสนับสนุนการพัฒนานักสื่อสารสุขภาวะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการช่วยให้ระบบนิเวศสื่อมีความสมดุลและเอื้อต่อการมีวิถีสุข เพราะ “เยาวชน” เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่มีพลังและศักยภาพ ในการร่วมทำสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ นอกจากทำให้เยาวชนชาว Digital Native มีภูมิคุ้มกัน และรู้เท่าทันสื่อแล้ว การเปิดโอกาสและมอบพื้นที่ผลิตและออกแบบงานสื่อสารที่สร้างสรรค์ เช่น อินโฟกราฟิก คลิปวิดีโอ แอนิเมชัน เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ ตามประเด็นที่สนใจ สะท้อนปัญหาสังคมแง่มุมต่างๆ สสส. เชื่อว่าจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยพัฒนา สร้างการเปลี่ยนแปลง ต่อยอดระบบนิเวศสื่อระยะยาวในทิศทางที่ดี ทันสมัย ปลอดภัย เต็มไปด้วยคุณภาพ และความรู้ ในโลกแห่งความผันผวน หรือ VUCA World ได้

ดร.ภาณุ แสง-ชูโต

ด้าน ดร.ภาณุ แสง-ชูโต อาจารย์ประจำสาขาวิชามีเดียอาตส์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวว่า เรื่องราวการสร้างสรรค์ภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ ความยาว 5 นาที ชื่อว่า Stay in Touch ของทีมนักศึกษาที่ส่งเข้าแข่งขัน ต้องการสะท้อนปัญหาสังคม โดยเป็นประเด็นเกี่ยวกับการจากไปอย่างโดดเดี่ยว และ การเจริญมรณานุสติ ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชัน เส้นเรื่องมีเนื้อหาเกี่ยวกับผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ป่วย และผู้สูญเสีย สะท้อนความรู้สึกถึงการจากไป โดยไม่ได้จากลา จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยนักศึกษาที่ผลิตผลงานสร้างสรรค์ ได้แก่ นางสาวสุวพัชร ดำสนิท, นางสาวสุวิมล แซ่ลิ้ม, นางสาวอัญมณี สุทวีทรัพย์ ทุกคนต้องการสร้างความตระหนักรู้ ถึงปัญหาโรคอุบัติใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คน และแฝงไปด้วยการให้ข้อคิดเตือนสติการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท และเป็นการทำผลงานสื่อที่สร้างสรรค์ ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ชมและต่อสังคม โดยสามารถรับชมผลงานได้ที่ https://fb.watch/fqyRbPvU9J/ และ https://youtu.be/xZEsM5XtHyc

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s