เมื่อวันที่ 4 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ จ.นครพนม ระดับน้ำโขงยังทรงตัวลดระดับประมาณ วันละ 10 เซนติเมตร ล่าสุดอยู่ที่ระดับประมาณ 8 เมตร ยังส่งผลกระทบหนุนลำน้ำสาขาสายหลัก ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ในพื้นที่ อ.ศรีสงคราม ทำให้มีปริมาณเกินความจุ ประมาณ 20 -30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไหลระบายลงน้ำโขงช้า และยังมีมวลน้ำที่ล้นตลิ่ง เอ่อท่วมพื้นที่ลุ่มกว่า 4,000 – 5,000 ไร่

นอกจากนี้ ยังเอ่อท่วมพื้นที่ข้าวนาปี รวมกว่า 300 -400 ไร่ เนื่องจากมีมวลน้ำต้องรอระบาย ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะพื้นที่ ต.ท่าบ่อสงคราม เป็นพื้นที่สำคัญที่เกษตรกร มีการเลี้ยง โค กระบือ จำนวนมาก กว่า 300 -400 ตัว ในช่วงนี้ ส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน ต้องเร่งอพยพ สัตว์เลี้ยง โค กระบือ ขึ้นพื้นที่สูง หวั่นฝนตกมาซ้ำอีก ส่งผลให้ระดับน้ำเอ่อท่วมพื้นที่ลุ่ม และชุมชนหมู่บ้าน ทำให้มีระดับน้ำสูงขึ้น พร้อมเก็บสิ่งของขึ้นที่สูง เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยง ที่เคยได้รับผลกระทบลำน้ำอูน น้ำสงคราม เอ่อล่นตลิ่ง ท่วมบ้านเรือน กว่า 300 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง กว่า 2 -3 เมตร เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านจึงต้องฝ้าระวัง เตรียมพร้อมทุกปี อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากอาหารสัตว์เลี้ยงการเกษตร เริ่มขาดแคลน ต้องสต็อกหญ้าสด และ หญ้าแห้งฟางอัดแท่ง มีราคาเพิ่มขึ้นจากมัดละ 20 บาท เพิ่มเป็น 30 -40 บาท เพราะชาวบ้านไม่มีพื้นที่เลี้ยงสัตว์ ต้องสต็อกหญ้าไว้ให้สัตว์เลี้ยงกินเอง

นางสุชาดา โพธิ์สุ อายุ 49 ปี ชาวบ้านท่าบ่อ ต.ท่าบ่อสงคราม จ.นครพนม เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ ต้องมีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวัง หลังจาก ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ที่ไหลผ่านใกล้พื้นที่ ชนชนหมู่บ้าน เนื่องจากมีปัญหาน้ำเอ่อล้นทะลักท่วมพื้นที่การเกษตร รวมถึงพื้นที่ลุ่ม ที่เป็นพื้นที่ใช้เลี้ยงสัตว์การเกษตร โคกระบือ กังวลว่าจะมีฝนตกมาซ้ำอีก ในช่วงปลายฤดูฝน เพราะเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก เมื่อ 4 -5 ปี ก่อน เคยได้รับผลกระทบน้ำท่วมขังหมู่บ้าน สูงกว่า 2 -3 เมตร พอถึงช่วงฤดูเสี่ยง ชาวบ้าน ต้องเตรียมพร้อม อพยพ โค กระบือ ขึ้นที่สูง นำไปเลี้ยงไว้ตามเกาะ ตามดอนที่สูง ใกล้หมู่บ้านป้องกันน้ำท่วมฉับพลัน

ทั้งนี้ สิ่งที่ได้รับผลกระทบในช่วงนี้ คือ เรื่องพื้นที่เลี้ยงสัตว์ เพราะถูกน้ำเอ่อล้นท่วม ต้องต้อนโค กระบือ ไว้พื้นที่สูง และนำอาหารสัตว์ หญ้าสด หญ้าแห้ง มาสต็อกไว้เป็นอาหารสัตว์ บางรายต้องแบกต้นทุนสูง ซื้อหญ้าแห้ง ฟางอัดแท่ง มาเลี้ยงโคกระบือ ทำให้ช่วงนี้ มีราคาเพิ่ม ขึ้น จากแท่งละ 20 บาท เพิ่ม เป็น 30 -40 บาท บางรายต้องแบกภาระค่าอาหารสัตว์ วันละ 300 -400 บาท จนกว่าระดับน้ำจะลดเข้าสู่ปกติ จึงสามารถปล่อยเลี้ยงตามพื้นที่ลุ่มได้ ฝากหน่วยงานเกี่ยวข้องปศุสัตว์เข้ามาดูแลช่วยเหลือในระยะยาว หากมีฝนตกซ้ำระดับน้ำเพิ่ม ยิ่งเดือดร้อนหนัก
